ประมาณเดือนตุลาคมหรือพฤศจิกายนของทุกๆ ปี ชาวอินเดียจะมีเทศกาลสำคัญประจำปีของศาสนาฮินดู ก็คือ เทศกาลแห่งแสงสว่าง Diwali สัญลักษณ์แห่งการเฉลิมฉลองชัยชนะของแสงสว่างเหนือความมืด และชัยชนะของความดีเหนือความชั่วของอินเดีย
ในอินเดียตอนเหนือเรียกกันว่า เทศกาลดีวาลี Diwali ฉลองกัน 5 วัน ขณะที่ในอินเดียใต้มักเรียกว่า ดีปาวาลี Deepavali มีงานฉลอง 4 วัน โดยทั้งคู่มีวันหลักอยู่ตรงกลาง นอกจากนี้ยังมีอีกหลายประเทศที่ฉลองเทศกาลนี้อย่างยิ่งใหญ่เช่นกัน ตำนานความเชื่อของชาวอินเดียที่นับถือ ศาสนาฮินดูกว่าร้อยปีที่ผ่านมา Deepavali ในภาษาสันสกฤตมาจากรากศัพท์ “Row of Light” หรือ แถวของแสงสว่างแห่งชัยชนะ เป็นการต่อสู้ของ 2 ฝ่าย ระหว่างความดี และความชั่ว ผู้นำฝ่ายอธรรม คือ Narakasura ปีศาจร้ายอาศัยในความมืด เมื่อบ้านเรือนหลังใดจุดตะเกียงเพื่ออาศัยแสงสว่างในการดำรงชีพ Narakasura จะฆ่ามนุษย์เพื่อไม่ให้เกิดแสงสว่าง ทำให้ประชาชนรู้สึกหวาดกลัว ตามความเชื่อของชาวฮินดู ทำให้ต้องสวดมนต์อ้อนวอนพระเจ้าให้ส่งผู้มีบุญมาปราบสิ่งชั่วร้าย การต่อสู้ระหว่าง Lord Krishna (ลอร์ด กฤษณะ) ตัวแทนฝ่ายธรรมะ และ Narakasura เปรียบเสมือนการต่อสู้ระหว่างความดีกับ ความชั่ว ท้ายที่สุด Narakasura รู้สึกสำนึกบาปที่กระทำลงไป และเพื่อเป็นการไถบาป Nara-kasura ร้องขอให้ประชาชนจุดไฟเฉลิมฉลองในการตายของเขาในช่วงเทศกาลดีปาวาลี กิจกรรมสำคัญคือการจุดตะเกียงดินเผา อันมีที่มาจากชื่อเทศกาลที่แปลว่า “แถวตะเกียง” และการทำข้าวทิพย์ถวายเจ้าแม่ลักษมี นอกจากนี้ในช่วงการเฉลิมฉลอง ผู้คนยังนิยมแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าใหม่ มีการแจกขนม และมีการจุดประทัดกันตลอดวัน เป็นที่คึกคักกันทั้งเมือง
ขอบคุณ ข้อมูลจาก TrueID